วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

4. คุณค่า สาระ แนวคิด



1. การเล่นหมากขุมมีคุณค่าในการฝึกลับสมองการวางแผนการเดินหมาก จะต้องคำนวณจำนวนลูกหมากในหลุมไม่ให้หมากตาย และสามารถกลับมาหยิบลูกหมากในหลุมของตนเองได้อีกผู้เดินหมากขุมจึงต้องมีสายตาว่องไว คิดเลขเร็ว เป็นการฝึกวิธีคิดวางแผนจะหยิบหมากในหลุมใดจึงจะชนะฝ่ายตรงกันข้าม เป็นการฝึกให้ผู้เล่นรู้จักคิดวางแผนในการทำงานทุกอย่างสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
2. เป็นการพักผ่อนหย่อนใจ นันทนาการภายในบ้าน ภายในชุมชน ให้ทั้งความสนุกสนานและความใกล้ชิดระหว่างพี่น้องญาติมิตร 
3. ก่อให้เกิดการประดิษฐ์รางหมากขุม ที่มีความสวยงามและประณีต เป็นความภาคภูมิใจของผู้สร้างชิ้นงาน และยังสามารถสร้างรายได้ในการจำหน่ายรางหมากขุม

3. วิธีการเล่น

1.ผู้เล่นนั่งคนละข้างกับรางหมากขุม แต่ละคนใส่ลูกหมากหลุมละ 7 ลูก ทั้ง 7 หลุม ส่วนหลุมหัวเมืองไม่ต้องใส่ให้เว้นว่างไว้
2.การเดินหมาก ผู้เล่นจะเริ่มเดิมพร้อมกันทั้ง 2 ฝ่าย เรียกว่า แข่งเมือง โดยหยิบลูกหมากจากหลุมเมืองของตนหลุมใดได้ก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะหยิบหลุมสุดท้ายของฝ่ายตนเอง เพราะคำนวณว่าเม็ดสุดท้ายจะถึงหัวเมืองของตนพอดี การเดินหมากจะเดินจากขวาไปซ้าย โดยใส่ลูกหมากลงในหลุม ถัดจากหลุมเมืองที่หยิบลูกหมากขึ้นมาเดิม ใส่ลูกหมากหลุมละ 1 เม็ด รวมทั้งใส่หลุมหัวเมืองฝ่ายตนเอง แล้ววนไปใส่หลุมของฝ่ายตรงข้าม ยกเว้นหลุมหัวเมือง เมื่อเดินลูกหมากเม็ดสุดท้ายใส่ในหลุม ให้หยิบลูกหมากทั้งหมดในหลุมนั้นขึ้นมาเดินหมากต่อไป โดยใส่ในหลุมถัดไป เล่นเดินหมากอย่างนี้จนลูกหมหากเม็ดสุดท้ายหมดลงในหลุมที่เป็นหลุมว่าง ถือว่าหมากตาย ถ้าเดินหมากตายในหลุมเมืองของฝ่ายตรงข้ามก็ถือว่าสิ้นสุดการเดินหมาก แต่ถ้าตายในหลุมเมืองฝ่ายตน ให้ผู้เล่นกินหมากหลุมเมืองซึ่งอยู่ตรงข้ามกับหลุมที่เราเดินหมากมาตาย โดยควักลูกหมากทั้งหมดในหลุมไปไว้ในหลุมหัวเมืองของฝ่ายตน เรียกว่า กินแทน เล่นอย่างนี้จนหลุมเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดลูกหมาก เดินต่อไปไม่ได้ ลูกหมากทั้งหมดจะไปรวมอยู่หลุมหัวเมืองของทั้ง 2 ฝ่าย จึงเริ่มเล่นรอบใหม่ต่อไป
3.การเดินหมากรอบสอง ผู้เล่นจะผลักกันเดินทีละคน ทำเช่นเดียวกับการเดินรอบแรก นำลูกหมากจากหลุมหมากหัวเมืองฝ่ายตนเองใส่ลงในหลุม ๆ ละ 7 ลูก ในฝ่ายของตนเอง คราวนี้แต่ละฝ่ายจะมีลูกหมากไม่เท่ากัน ฝ่ายที่มีลูกหมากมากกว่าจะเป็นผู้เดินหมากก่อน ฝ่ายที่มีลูกหมากน้อยกว่าจะใส่ไม่ครบทุกหลุม หลุมใดมีไม่ครบให้นำลูกหมากที่เหลือไปใส่ในหลุมหัวเมืองฝ่ายตน หลุมใดไม่มีลูกหมากเรียกว่า เมืองหม้าย ตามปกติหลุมเมืองหม้ายจะปล่อยไว้หลุมปลายแถว หลุมเมืองหม้ายจะไม่ใส่ลูกหมาก ถ้าฝ่ายใดใส่จะถูกริบเป็นของฝ่ายตรงกันข้าม ในการเล่นจะเล่นจนฝ่านใดฝ่ายหนึ่งหมดลูกหมากเดินต่อไปไม่ได้และจะนับเมืองหม้าย ใครมีจำนวนเมืองหม้ายมากกว่าฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายแพ้

2. อุปกรณ์ในการเล่น

1.รางหมากขุม เป็นรูปเรือทำจากไม้ ยาวประมาณ 130 เซนติเมตร กว้างประมาณ 20 เซนติเมตร มีหลุมเรียงเป็น 2 แถว หลุมกว้างประมาณ 7 เซนติเมตร ลึกประมาณ 4 เซนติเมตร มีด้านละ 7 หลุม เรียกหลุมว่าเมือง หลุมที่อยู่ปลายสุดทั้งสองข้างเป็นหลุมใหญ่กว้างประมาณ 11 เซนติเมตร เรียกว่า หัวเมือง
2.ลูกหมาก นิยมใช้ลูกสวดเป็นลูกหมากใส่ลูกหมากหลุมละ 7 ลูก จึงต้องใช้ลูกหมากในการเล่น 98 ลูก
3.ผู้เล่น มี 2 คน

1. โอกาสหรือเวลาในการเล่น



การเล่นหมากขุมจะเล่นในยามว่างจากการงาน เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นการพักผ่อนหย่อนใจ จึงเล่นได้ทั้งวัน

สมาชิกในกลุ่ม

1.  เด็กชาย   วรพล  สันง๊ะ 
2.  เด็กหญิง  ตัสนีม    มาลินี
3.  เด็กหญิง  มัสยา   ฮะฮา 
4.  เด็กหญิง  แพรวนภา    กุลชู  
5.  เด็กหญิง   มินทร์ลดา   พรหมช่วย 
6.   นางสาว  นุตรีณีย์    โต๊ะประดู่ 
7.  เด็กหญิง   สุกัญญา   เทศอาเส็น 
8.  เด็กหญิง   ยูรีต้า    จิยี่งอ